ภาษีครึ่งปี เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร

///ภาษีครึ่งปี เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร

ภาษีครึ่งปี เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร

ภาษีครึ่งปีเป็นภาษีบุคคลธรรมดาประเภทที่บังคับให้ยื่นรายได้ที่ได้รับจริงของเดือนมกราคม – มิถุนายน โดยกำหนดระยะเวลาการยื่นแบบ คือภายในกรกฎาคม – กันยายนของปีภาษีนั้นๆ เอกสารที่ใช้ในการยื่นแบบ คือภงด. 94 โดยเมื่อยื่นและชำระภาษีแล้วเมื่อถึงกำหนดปลายปีเราก็จำเป็นต้องมีการยื่นภาษีปลายปีอีกครั้งนึง โดยเป็นการยื่นของทั้งปีและนำภาษีครึ่งปีที่ได้ชำระไว้แล้วมาเป็นเครดิตภาษี

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษีแบบครึ่งปี

สำหรับคนที่ต้องยื่นภาษีครึ่งปีคือผู้มีรายได้ ประเภท 5, 6, 7, 8

  • เงินได้ 40(5) คือเงินได้พึงประเมินในรูปของค่าเช่ารวมถึงรายได้จากการผิดสัญญาเช่า เช่าซื้อ หรือผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน
  • เงินได้ 40(6) คือเงินได้พึงประเมินในรูปของค่าตอบแทนจากการประกอบวิชาชีพอิสระ ที่มีจำนวนไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับความยากง่ายและปริมาณของงานซึ่งจะมีเพียง 6 อาชีพเท่านั้นที่เป็นเงินได้ประเภทที่ 6 คือ การประกอบโรคศิลปะ, วิศวะ, สถาปนิก, นักบัญชี, นักกฎหมาย และช่างประณีตศิลป์
  • เงินได้ 40(7) คือเงินได้พึงประเมินในรูปค่า รับเหมา ทั้งค่าแรงและค่าของ
  • เงินได้ 40(8) คือเงินได้ประเภทที่ไม่สามารถจัดกลุ่มข้างต้นได้ เช่นขายของออนไลน์ การเปิดร้านอาหาร กำไรจากการขาย LTF และ RMF

การหักค่าใช้จ่าย หักครึ่งปีหักได้อย่างไร?

ค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีบุคคลธรรมดา คือค่าใช้จ่ายที่สรรพากรอนุญาตให้หักได้จากการรายได้ที่ได้รับ โดยค่าใช้จ่ายที่หักได้นั้นจะเป็นไปตามลักษณะของเงินได้ที่ได้รับ ยกตัวอย่างเช่น รายได้จากค่าเช่าบ้านสามารถหักรายจ่ายเหมาจ่าย 30% หรือหักตามจริง รายได้จากการประกอบวิชาชีพหมอสามารถหักรายจ่ายได้ 60% หรือหักตามจริง โดยถ้าทำการยื่นภาษีครึ่งปีก็ยังสามารถหักรายจ่ายได้จำนวนเงินเช่นเดียวกับการยื่นภาษีปลายปี

โดยเมื่อยื่นและชำระภาษีแล้วเมื่อถึงกำหนดปลายปีเราก็จำเป็นต้องมีการยื่นภาษีปลายปีอีกครั้งนึง โดยเป็นการยื่นของทั้งปีและนำภาษีครึ่งปีที่ได้ชำระไว้แล้วมาเป็นเครดิตภาษี

การหักค่าลดหย่อน และเงินได้ที่รับการยกเว้น

หลายๆคนมักจะเคยได้ยินเกี่ยวกับ “ค่าลดหย่อน” เพื่อใช้ในการยื่นภาษีบุคคลธรรมดา โดยเราจะเข้าใจว่าค่าลดหย่อนจะหมายถึงค่าใช้จ่ายทุกประเภทที่เรายื่น เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว, ค่าเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, ค่าซื้อกองทุนLTF, ค่าซื้อกองทุนรวม RMF แต่แท้จริงแล้วบางรายการนั้นจะถือว่าเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นตามระเบียบของกรมสรรพากร

ซึ่งในกรณีทั่วไปเราอาจจะไม่จำเป็นต้องทราบถึงความแตกต่าง แต่ถ้าเรามีการยื่นภาษีกลางปี (ภงด. 94) เราควรทราบว่ารายการใด คือค่าลดหย่อน และรายการใดเป็นเงินได้ที่รับการยกเว้น เพราะเราจะเข้าใจ และจำหลักการของการยื่นการหักค่าลดหย่อน และเงินได้ที่รับการยกเว้นได้อย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว เป็นค่าลดหย่อนตัวหนึ่งจะสามารถลดหย่อนได้เพียง 30,000 จากอัตรา 60,000 บาทต่อปี
  • ค่าลดหย่อนบุตร จะลดหย่อนได้เพียง 15,000 บาท จากอัตรา 30,000 บาทต่อปี
  • ค่าเบี้ยประกันชีวิต จะประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นค่าลดหย่อน 10,000 บาท และส่วนที่เป็นเงินได้ที่รับการยกเว้น 90,000 บาท ถ้าเราเคยยื่นภาษีปลายปีครั้งเดียวจะสามารถใช้สิทธิได้ ทำให้ครึ่งปีภาษีเราสามารถใช้สิทธิจากค่าลดหย่อนและเงินได้เท่ากันอยู่เป็นจำนวน 95,000 บาท เพราะค่าลดหย่อนได้เพียงครึ่งเดียวที่ 5,000 บาทรวมกับเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นเต็มจำนวน 90,000 บาท

ถ้าเราไม่ยื่นแบบคือภายในกรกฎาคม – กันยายนจะเป็นอย่างไร

  • กรณียื่นแบบล่าช้า ไม่เกิน 7 วัน มีเบี้ยปรับ 100 บาท + เงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน (เศษของจำนวนวันคิดเป็น 1 เดือน) ของจำนวนภาษีที่ต้องชำระในแบบ
  • กรณียื่นแบบล่าช้า เกินกว่า 7 วัน มีเบี้ยปรับ 200 บาท + เงินเพิ่ม 1.5% ต่อเดือน (เศษของจำนวนวันคิดเป็น 1 เดือน) ของจำนวนภาษีที่ต้องชำระในแบบ

สามารถยื่นแบบได้ที่ใดบ้าง

  • สามารถยื่นแบบได้ที่สำนักงานสรรพากรเขตที่สะดวก โดยสรรพากรจัดให้มีเจ้าหน้าที่ปรึกษาและช่วยเหลือเรื่องการกรอกแบบ
  • ยื่นแบบ ผ่าน internet ได้ที่นี่ (กด Link) โดยลงทะเบียนในเว็บไซน์ยื่นแบบผ่านเว็บไซต์ มีบริการคำนวณแบบผ่านหน้าเว็บไซน์ให้เลย

เมื่อทราบเช่นนี้แล้วการยื่นภาษีกลางปีก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ดังนั้นอย่าลืมยื่ยภาษีกลางปีกันนะครับสำหรับคนที่เงินได้ตามข้างต้น เพราะเราจะเสียทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ทั้งที่เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรจ่าย พี่เสือ #tigertheplanner หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจเรื่องภาษีกลางปีกันได้ครับ

– ถ้าคุณอยากเริ่มวางแผนการเงิน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร?
– อยากเริ่มลงทุน แต่ไม่มีเวลาจัดการเอง
– เสียภาษีเยอะจัง ควรเริ่มจัดการอย่างไร?
– SSF หรือ RMF กองไหนน่าสนใจ?
– ประกันมีให้เลือกหลายแบบ เลือกไม่ถูก?

ปรึกษาฟรี
Facebook Comments
By | 2018-08-25T13:44:45+00:00 August 25th, 2018|Blog, วางแผนภาษี|Comments Off on ภาษีครึ่งปี เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร

About the Author: