ภาษีบุคคลธรรมดาความหมายก็ตรงตัว เลย นั่นคือเป็นภาระภาษีสำหรับบุคคลมารดาที่เมื่อมีรายได้ก็ต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งเพื่อจ่าย เป็นค่าใช้จ่ายภาษี สำหรับการพัฒนาประเทศโดยถ้าเราเป็นมือใหม่สำหรับภาษีบุคคลธรรมดานั้น มีเรื่องอะไรบ้างที่เราควรเข้าใจ วันนี้พี่เสือมาสรุปให้ดูกันเลยครับ
ใครบ้างที่ต้องจ่ายภาษีบุคคลธรรมดา
โดยแบ่งได้ทั้งหมด 4 กลุ่ม
- ทุกคนที่มีรายได้ ตัวอย่างเช่น
– เด็กแรกเกิด
– พนักงานออฟฟิต
– พระสงฆ์
- ถือเป็นหน่วยภาษีแยกแต่ไม่มีตัวตนตามกม.แพ่งและพาณิชย์
- ต้องดำเนินการขอเลขผู้เสียภาษีใน 60 วัน
- ต้องทำบัญชีรับจ่าย
- เป็นผู้เสียชีวิตในปีนั้น
- โดยในปีถัดไปเสียภาษีในฐานะกองมรดกที่ไม่ได้แบ่ง
- ถ้ากองมรดกยังไม่ได้มีการแบ่งนั้น เงินของกองมรดกดังกล่างยังต้องมีการยื่นเพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดา
.
เงินก้อนไหนบ้างที่ต้องเสียภาษี
- รายได้จากในประเทศ ต้องเสียภาษีทุกกรณีโดยไม่ว่าจะจ่ายในประเทศหรือต่างประเทศ และไม่ว่าผู้มีเงินได้อยู่ในประเทศหรือต่างประเทศ
- รายได้จากต่างประเทศ จะเสียภาษีถ้าครบเงื่อนไขทั้งสองข้อ
- นำเงินได้เข้ามาในปีเดียวกับที่ได้เงินได้ก้อนนั้น (ปีปฏิทิน)
- พักอาศัยอยู่ในประเทศไทยเกิน 180 วัน
โครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาเป็นอย่าไร
ภาษีบุคคลธรรมดาถือเป็นภาษีขั้นบันได ที่เรียกเก็บตามขั้นของรายได้ยิ่งรายได้มากเท่าไหร่ภาษีที่ต้องเสียก็จะยิ่งเสียมากเท่านั้น โดยวิธีการคำนวณต้องใช้ 2 วิธีคู่กันแล้วเลือกใช้วิธีที่คำนวณแล้วเสียภาษีสูงกว่า ได้แก่ วิธีคำนวณจากเงินได้สุทธิแบบขั้นบันได 0-35% และวิธีคำนวณแบบเหมา 0.5%
วิธีคำนวณแบบขั้นบันได 0-35%
วิธีนี้เป็นวิธีขั้นพื้นฐานที่ไม่ว่ามีรายได้แบบไหนก็ต้องมีการคิดด้วยวิธีนี้เสมอ โดยวิธีคำนวณคือ
- รายได้ – เงินได้ที่ได้รับการยกเว้น – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้ที่ต้องเสียภาษี
- จากนั้นนำเงินได้ที่ต้องเสียภาษี * อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องเสีย
วิธีคำนวณแบบเหมา 0.5%
วิธีคำนวณแบบเหมา 0.5% นี้จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อมีรายได้ทางอื่นนอกเหนือจากเงินเดือน โดยการนำรายได้ทางอื่นทั้งหมดที่ไม่ใช่เงินเดือนไปคูณ 0.5% ก็จะได้เป็นค่าภาษี โดยวิธีนี้จะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อเข้าเงื่อนไขครบทุกข้อต่อไปนี้เท่านั้น
- คำนวณแล้วเกิน 5,000 บาท (แปลว่ามีรายได้ไม่รวมเงินเดือนเกิน ฿1,000,000)
- คำนวณด้วยวิธีนี้แล้วได้มากกว่าคำนวณภาษีแบบขั้นบันได
มีรายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี
สมมุติว่าเรามีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว
- เงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท >> ไม่ต้องยื่นภาษี
- เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท >> ต้องยื่นภาษีแต่ไม่ต้องเสียภาษี
- เงินเดือนเกิน 26,580 3.33 บาท >> ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย VS ภาษีบุคคลธรรมดา
- บุคคลธรรมดาโดยส่วนมากแล้วเมื่อเรามีรายได้เราจะถูกผู้จ่ายไม่ว่าจะเป็นนายจ้างหรือลูกค้าของเราหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ และเมื่อถึงกำหนดเวลา ยื่นแบบครึ่งปีหรือปลายปี เราจำเป็นที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อคำนวณว่ามีภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติม หรือได้รับคืนหรือไม่
- ดังนั้นภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นเพียงรายได้ส่วนเดียวที่เราได้ชำระ โดยปลายปีเป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ต้องยื่นภาษีบุคคลธรรมดา
- โดยช่องทางการชำระเงินสามารถทำได้โดยวิธี เงินสด บัตรเครดิต บัตรเดบิต เช็ค ตามช่องทางที่สรรพากรกำหนด
ขอปิดท้ายด้วยประโยคสุดคลาสสิคที่ว่า “มีสองสิ่งที่เราไม่สามารถหนีได้ คือ ภาษีและความตาย” ในเมื่อเราสามารถหนีจากมันได้ เราก็ควรทำความเข้าใจเพื่อที่ว่าจะสามารถวางแผนเพื่อบรรเทาภาระ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สำหรับในตอนนี้ หวังว่าจะได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีบุคคลธรรมดาไม่มากก็น้อยนะครับ
– ถ้าคุณอยากเริ่มวางแผนการเงิน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร?
– อยากเริ่มลงทุน แต่ไม่มีเวลาจัดการเอง
– เสียภาษีเยอะจัง ควรเริ่มจัดการอย่างไร?
– SSF หรือ RMF กองไหนน่าสนใจ?
– ประกันมีให้เลือกหลายแบบ เลือกไม่ถูก?