ถ้าเราต้องไปอยู่บ้านพักคนชรา เราต้องจ่ายอะไรบ้าง?

/, ความรู้อื่นๆที่น่าสนใจ, วางแผนเกษียณอายุ/ถ้าเราต้องไปอยู่บ้านพักคนชรา เราต้องจ่ายอะไรบ้าง?

ถ้าเราต้องไปอยู่บ้านพักคนชรา เราต้องจ่ายอะไรบ้าง?

เวลาในแต่ละปีเดินเร็วเหลือเกิน ที่เรารู้สึกแบบนั้นในแต่ละวันอาจจะเพราะเรามีหน้าที่การงานที่รัดตัวเรา แต่สำหรับผู้สูงอายุแล้วล่ะก็ วันๆนึงของท่านเหล่านั้นอาจจะเดินไปอย่างช้าๆโดยถ้าเมื่อเรามองย้อนกลับมา เราอาจจะมีคำถามว่าถ้าเป็นเราจะเป็นคนแก่ที่ใช้ชีวิตอย่างไร

หลายคนอาจจะไม่อยากวางแผนอะไรมาก ถึงขนาดเคยพูดเล่นๆว่า ตอนอายุเยอะแล้วอยากขอไปอยู่บ้านพักคนชรา วันนี้พี่เสือเลยจัดให้ พาเพื่อนๆมาดูค่าใช้จ่ายในการใช้ชีวิตอยู่บ้านพักคนชรากันครับ

.

1. บ้านบางแค
เป็นบ้านพักคนชราที่มีชื่อเสียงอันดับต้นๆ โดยถ้าเราจะนึกถึงบ้านพักคนชรา เราก็มักจะนึกถึงที่นี่เป็นอันดับแรก โดยก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2496 แต่รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันบ้านบางแค รับผู้สูงอายุได้เพียง 234 ท่านเท่านั้นสิงหาคม 2561 โดยอยู่ภายใต้การดูแลของรัฐบาล โดยถ้าจะอาศัยอยู่ที่นี่ต้องมีค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้

ที่พักประเภทที่ 1 คือ ประเภทสามัญ

  • ค่าใช้จ่ายครั้งเดียว: –
  • ค่ารายเดือน: –
  • ค่าใช้จ่ายอื่น: –
  • ลักษณะที่อยู่อาศัย: ที่พักจะมีลักษณะเป็นตึกสูง 2 ชั้น ซอยออกเป็นห้องๆ คล้ายๆกับหอพักโดย 1 ห้องมีทั้งหมด 3 เตียง โดยห้องพักนี้ยังแบ่งแยกตามสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ นั่นคือ
    • กลุ่ม A คือ กลุ่มที่ดูแลตัวเองได้คล่องตัว (ชั้นบน) และ
    • กลุ่ม B คือ ผู้สูงอายุที่พอจะดูแลตัวเองได้ (ชั้นล่าง)

ที่พักประเภทที่ 2 คือ ประเภทเสียค่าบริการแบบหอพัก

  • ค่าใช้จ่ายครั้งเดียว: –
  • ค่ารายเดือน: แบ่งออกเป็นห้องเดี่ยว เสียค่าบริการ 1,500 บาทต่อเดือน และห้องคู่เดือนละ 2,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายอื่น: ค่าน้ำค่าไฟ (ไม่มีแอร์)
  • ลักษณะที่อยู่อาศัย: เป็นอาคารคอนกรีตสูง 2 ประมาณ 40 ห้อง ซึ่งอาคารประเภทที่เป็นห้องคู่ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุที่เป็นพี่น้อง หรือเป็นสามีภรรยากัน พร้อมกันนั้น เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีเงินเก็บบำเหน็จบำนาญ หรือเป็นผู้สูงอายุที่ลูกหลานส่งเงินให้ต่อเนื่องทุกๆ เดือน

ที่พักประเภทที่ 3 คือ ประเภทพิเศษ (บังกะโล)

  • ค่าใช้จ่ายครั้งเดียว: 300,000 บาท
  • ค่ารายเดือน: แบ่งออกเป็นห้องเดี่ยว เสียค่าบริการ 1,500 บาทต่อเดือน และห้องคู่เดือนละ 2,000 บาท
  • ค่าใช้จ่ายอื่น: ค่าน้ำค่าไฟ (ไม่มีแอร์)
  • ลักษณะที่อยู่อาศัย: บ้านเดี่ยวที่ปลูกสร้างตามแบบที่กำหนดในที่ดินของบ้านบางแค ซึ่งผู้สูงอายุท่านนั้นๆ สามารถพักอาศัยอยู่ได้จนถึงแก่กรรม และเมื่อถึงแก่กรรมก็จะต้องยกกรรมสิทธิ์ให้กรมพัฒนาสังคม เพื่อให้ผู้สูงอายุรายต่อไป เป็นผู้พักอาศัยต่อไป

โดยแต่ละทางเลือกมีค่าใช้จ่าย (ตั้งแต่อายุ 60 – 80) 

ทางเลือก 1: ไม่มี
ทางเลือก 2: 720,000 บาท (3,000 * 12 * 20 ปี)
ทางเลือก 3: 1,020,000 บาท (1,500 * 12 * 20 ปี)

2. บ้านสวางคนิเวศ
เป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา โดยเป็นโครงการต้นแบบ สำหรับเป็นที่พักอาศัยของผู้สูงอายุสุขภาพดีฐานะปานกลางและเพียงพอจะดูแลตนเองได้ ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเลือกสวางคนิเวศ จะมากกว่าบ้านบางแคโดยมีค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ครับ

  • ค่าใช้จ่ายครั้งเดียว: เป็นค่าใช้จ่ายด้านสถานที่มีให้เลือก 2 แบบคือแบบอาคารใหญ่ (คล้ายๆอาคารชุด) และแบบที่เป็นหมู่อาคาร (คล้ายๆคอนโด) โดยมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 650,000 บาท โดยผู้ซื้อจะได้แค่เพียงสิทธิ์ในการพักอาศัยตลอดชีวิตเมื่อเสียชีวิตแล้วก็ต้องคืนสิทธิ์ให้กับสภากาชาดไทย เพื่อเปิดรับผู้สนใจท่านไป
  • ค่ารายเดือน: ค่าส่วนกลางเดือนละ 2,500 บาท
  • ค่าใช้จ่ายอื่น: ค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำประปาค่าไฟฟ้ารวมถึงค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรมต่างๆ ของทางสวางคนิเวศ
รวมค่าใช้จ่ายถ้าเลือกอยุ่ที่สวางคนิเวศ (ตั้งแต่อายุ 60 – 80): 1,850,000 บาท (650,000 + (5000*12*20 ปี))

บทความนี้หวังว่าจะทำให้เพื่อนๆที่สนใจวางแผนเกษียณอายุเริ่มต้นวางแผนกันอย่างจริงจังเสียสักที เพราะถึงแม้เราตั้งใจ วางแผนที่จะอยู่บ้านพักคนชราแต่ค่าใช้จ่ายก็ไม่น้อยเลยทีเดียว และที่สำคัญ เราก็ยังไม่แน่ใจว่าจะมีที่ว่างเพียงพอสำหรับเราหรือไม่ ทางที่ดีพี่เสือคิดว่าเราควรจะมีการเตรียมพร้อมด้วยตัวของเราเอง จะได้แก่ไปเป็น ผู้สูงอายุที่มีคุณภาพมีเงินมีเวลาและมีความสุข

– ถ้าคุณอยากเริ่มวางแผนการเงิน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร?
– อยากเริ่มลงทุน แต่ไม่มีเวลาจัดการเอง
– เสียภาษีเยอะจัง ควรเริ่มจัดการอย่างไร?
– SSF หรือ RMF กองไหนน่าสนใจ?
– ประกันมีให้เลือกหลายแบบ เลือกไม่ถูก?

ปรึกษาฟรี
Facebook Comments
By | 2018-09-03T23:09:11+00:00 August 18th, 2018|Blog, ความรู้อื่นๆที่น่าสนใจ, วางแผนเกษียณอายุ|Comments Off on ถ้าเราต้องไปอยู่บ้านพักคนชรา เราต้องจ่ายอะไรบ้าง?

About the Author: