จะย้ายงานทั้งที จะจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ให้ดีทำอย่างไร

/, ความรู้อื่นๆที่น่าสนใจ, วางแผนการลงทุน, วางแผนเกษียณอายุ/จะย้ายงานทั้งที จะจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ให้ดีทำอย่างไร

จะย้ายงานทั้งที จะจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ให้ดีทำอย่างไร

เมื่อเราตัดสินใจย้ายงานก็เปรียบเสมือนว่าต้องย้ายไปอยู่ในสังคมใหม่ เนื้องานรวมถึงหน้าที่ความรับผิดชอบมีมากขึ้น หนึ่งในเรื่องที่เราต้องจัดการก่อนย้ายออกจากงานคือ ตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ที่อยู่กับที่ทำงานปัจจุบัน

วันนี้พี่เสือขออาสาพาเพื่อนๆ มารู้จักการเลือกวิธีการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อให้เหมาะสมกับตัวเรา

1. ลาออกจากกองทุนฯ (ขายทิ้งทั้งหมด)

หลายคนพูดว่าเริ่มทำงานที่ใหม่ทุกอย่างก็ต้องเริ่มใหม่หมด ก็เลยถือโอกาสขายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ถืออยู่ แต่รู้หรือไม่ว่าการที่เราขายกองทุนออกทั้งหมดนั้นเราจะมีภาระภาษีอย่างไรบ้าง

  • กรณีที่ 1:  อายุ 55 ปีขึ้นไปและเป็นสมาชิกกองทุนฯไม่น้อยกว่า 5 ปี ผลคือได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
    .
  • กรณีที่ 2:  มีอายุงานมากกว่า 5 ปี ผลคือจะเสียภาษีบางส่วนโดยมีวิธีคิดดังต่อไปนี้
    • คำนวณหา (A) เงินได้พึงประเมิน  = เงินสะสม + ผลประโยชน์ เงินสะสม + ผลประโยชน์เงินสมทบ
    • คำนวณหา (B) เงินได้ที่ต้องเสียภาษี โดยนำ (A) หักรายจ่ายได้คือ 7,000 คูณด้วยจำนวนปีการทำงานกับนายจ้างปัจจุบันแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มาหาร 2
    • คํานวณภาษีบุคคลธรรมดาจาก (B)

ยกตัวอย่าง

นาย ก. อายุ 40 ปีต้องการลาออกจากงาน โดยทำงานกับนายจ้างปัจจุบันมาแล้ว 10 ปี ปัจจุบันมียอดกองทุนฯ ทั้งหมด 20,000 บาทโดยจะต้องเสียภาษีดังนี้

  1. แยกเงินได้ที่ต้องเสียภาษีออกจากเงินสำรองเลี้ยงชีพทั้งก้อน โดยภาษีจะคำนวณจาด เงินสะสม + ผลประโยชน์เงินสะสม + ผลประโยชน์เงินสมทบ ยกตัวอย่างได้เท่ากับ 150,000 บาท
  2. คำนวณค่าใช้จ่ายได้ = 70,000 บาท (7,000*10 ปี)
  3. คำนวณหาเงินได้ที่ต้องเสียภาษี = 40,000 บาท ((150,000 – 70,000)÷2)
  4. คำนวณภาษีบุคคลธรรมดา = 2,000 (40,000 * 5%)
  • กรณีที่ 3 อายุงานน้อยกว่า 5 ปี ผลคือผู้ขายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต้องนำเงินได้ทั้งจำนวนเงินสะสม + ผลประโยชน์เงินสะสมผล + ประโยชน์เงินสมทบเพื่อเสียภาษีโดยไม่สามารถหักรายจ่ายได้ จากตัวอย่างที่แล้วยอดเงิน 150,000 บาท ต้องนำไปเสียภาษี 5% ทำให้เสียภาษีรวม 7,500 บาท

2. คงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชี

ทางเลือกนี้เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังเปิดโอกาสให้เราสามารถคงเงินสะสมไว้ทั้งจำนวนในกองทุนเดิมโดยมีค่าใช้จ่ายรายปี 500 บาท ถ้าเราเลือกเลือกนี้จะมีข้อดีดังต่อไปนี้

  • หากคงเงินไว้จนถึงอายุ 55 ปีและอายุสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปีแล้วเมื่อลาออกจากกองทุนจะทำให้ไม่ต้องเสียภาษี
  • เพื่อรอเวลาให้ตลาดปรับตัวดีขึ้น เพราะในช่วงที่เราคงเงินลงทุนไว้ในกองทุนเดิมนั้นเงินลงทุนดังกล่าวมีการลงทุนตามนโยบายที่เราเลือกไว้ทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากการลงทุนอย่างต่อเนื่อง
  • ถ้าผ่านไป 1 ปี และไม่มีการลาออกจากกองทุนจริงๆเงินดังกล่าวก็ยังคงถูกลงทุนตามนโยบายที่เราเลือกไว้และเมื่อถึงเวลาที่เราตัดสินใจลาออกจากกองทุนดังกล่าวก็จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมย้อนหลังของปีที่เรายังไม่ได้ชำระ

3. โอนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ไปกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

ทางเลือกนี้เป็นทางเลือกใหม่ล่าสุดที่ทางภาครัฐเปิดโอกาสให้เราจัดสรรเงินของเราได้อย่างดีเพราะเราสามารถโอนเงินทางก้อนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไปบริหารเองได้ผ่านกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพโดยปัจจุบันมีบลจที่เปิดให้บริการดังต่อไปนี้ บลจ. ทหารไทย, บลจ. กรุงศรี, บลจ. LH, บลจ. ซีไอเอ็มบีฯ โดยการโอนเงินมาอยู่ใน RMF ต้องมีจุดที่เข้าใจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

  • ถ้าเราไม่เคยลงทุนในกองทุน RMF มาก่อนเลยการโอนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไป RMF จะไม่ทำให้เราต้องซื้อ RMF ทุกๆปีจนถึงอายุ 55
  • เป็นการเปิดโอกาสในการเลือกบริษัทและนโยบายการลงทุนเองได้โดยบางนโยบายการลงทุนไม่ได้มีให้เลือกในขณะที่เราลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตัวอย่างเช่นการลงทุนในทองคำการลงทุนในต่างประเทศทั้งจำนวน

จะสังเกตุได้ว่าทางเลือกในการตัดสินใจเรื่องการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็มีให้เลือกหลากหลายแล้วแต่เงื่อนไขของบุคคลนั้นๆ โดยเราต้องคำนึงถึงผลได้-ผลเสียเองเนื่องจากถ้าเลือกทางเลือกใดแล้วจะไม่สามารถย้อนกลับมาเลือกได้อีก โดยพี่เสือขอปิดท้ายด้วยข้อดี ข้อเด่นที่เป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรตัดสินใจใช้สิทธิลงทุนใน PVD ทุกครั้งที่มีโอกาส

  1. ได้ลดหย่อนภาษีจากเงินสะสม
  2. มีผู้เชี่ยวชาญคอยบริหารเงินก้อนดังกล่าวให้งอกเงย
  3. บริษัทช่วยสมทบ เงิน มากถึง 100 เปอร์เซ็นต์
  4. เงินได้ที่ถอนจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา (หากปฏิบัติตามเงื่อนไข)

– ถ้าคุณอยากเริ่มวางแผนการเงิน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร?
– อยากเริ่มลงทุน แต่ไม่มีเวลาจัดการเอง
– เสียภาษีเยอะจัง ควรเริ่มจัดการอย่างไร?
– SSF หรือ RMF กองไหนน่าสนใจ?
– ประกันมีให้เลือกหลายแบบ เลือกไม่ถูก?

ปรึกษาฟรี
Facebook Comments
By | 2018-08-30T16:50:18+00:00 August 13th, 2018|Blog, ความรู้อื่นๆที่น่าสนใจ, วางแผนการลงทุน, วางแผนเกษียณอายุ|Comments Off on จะย้ายงานทั้งที จะจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) ให้ดีทำอย่างไร

About the Author: