ภาษีเป็นอะไรที่น่าปวดหัวนะครับ แล้วภาษีที่นักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการจำเป็นต้องรู้มีอะไรบ้างหล่ะครับ ถ้าไม่อยากตกม้าตาย หรือต้องปวดหัวตายเพราะเรื่องภาษี วันนี้ผมมี 5 ภาษีที่นักธุรกิจจำเป็นต้องรู้มาฝากครับ
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากนิติบุคคลตามกฎหมาย ภาษีประเภทนี้จะเก็บกับคนที่ทำธุรกิจที่จดทะเบียนในรูปแบบบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยกฎหมายกำหนดให้มีการยื่นสองครั้งในหนึ่งปีคือ กลางปี (ภ.ง.ด.51) และยื่นปลายปี (ภ.ง.ด.50) โดยจะมีกำหนดการยื่นที่แตกต่างกันคือ ภ.ง.ด.51 ต้องยื่นภายใน 150 วันหลังจากวันที่ปิดบัญชี แต่ภ.ง.ด.50 ต้องยื่นภายในสองเดือนหลังรอบบัญชีภาษีครึ่งปี
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือเงินที่คน “จ่าย” ผู้ที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องมีหน้าที่ “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับผู้รับที่เป็นนิติบุคคล หรือคนธรรมดาก็ได้ แล้วเมื่อหักเงินเอาไว้จำเป็นที่ต้องนำส่งภาษีนี้แก่ให้กรมสรรพากร เพราะเงินจำนวนนี้ไม่ใช่เงินของเราแต่เป็นเงินที่ถือว่าเป็นรายรับของผู้รับ (คล้ายๆกับตัวประกันให้สรรพากรรู้ว่าคนนี้มีรายได้) โดยต้องนำส่งไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป โดยทุกครั้งที่ทำการหัก คนที่หักต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่ จ่าย ให้กับคู่ค้าของเราไว้ด้วยทุกครั้ง
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีนี้เป็นภาษีที่เก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นจากคนทำธุรกิจ หรือให้บริการประเภทต่าง ๆ โดยผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ ผู้ประกอบการ ผู้นำเข้า ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ฯลฯ ซึ่งต้องมีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 1.8 ล้านบาทขึ้นไป ไม่ว่ากิจการนั้นจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลก็ตาม
4. อากรแสตมป์
เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรอีกประเภทหนึ่ง จะเรียกเก็บเมื่อมีการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอากรแสตมป์ โดยจะใช้การขีดฆ่าแสดงถึงการใช้แสตมป์ดังกล่าว
5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีประเภทนี้จะถูกเก็บเฉพาะเจาะจงตามชื่อธุรกิจ ได้แก่ กิจการพาณิชย์ โรงรับจำนำ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ถ้าเราไม่ได้ทำธุรกิจในรายชื่อดังต่อไปนี้ก็ไม่ต้องกังวลแต่อย่างใด
ธุรกิจที่ขายบริการเป็นหลักต้องเลือกเสียภาษีธุรกิจจำเพาะ ได้แก่
- การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ
- การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
- การรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
- การรับจำนำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
- การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ และในอนาคตอาจหมายถึง กิจการ Start Up อย่าง ฟินเทค เป็นต้น
เรื่องการเสียภาษีของธุรกิจแต่ละอย่างนั้น มีเรื่องราวเยอะแยะมากมายครับ หากนักธุรกิจหรือเจ้าของธุรกิจ ไม่แน่ใจว่าธุรกิจของเราควรจะต้องเสียภาษีแบบใด ควรปรึกษากรมสรรพากรดีกว่า เพื่อเราะได้ทำธุรกิจได้อย่างปลอดโปร่งโล่งใจ คือ เราจะได้ทำธุรกิจได้อย่างปลอดภัย และถูกต้องได้อีกด้วย ถ้าเป็นธุรกิจร้านค้า ก็ไม่ควรซื้อ Vat หรือพยายายามหลบเลี่ยงภาษี ถ้ากรมสรรพากรตรวจพบ เราจะเจอโทษหนักหรือเสียเงินค่าปรับที่มากกว่าปกติที่เราต้องเสีย เราควรทำอะไรตรงไปตรงมาดีกว่า
หรือธุรกิจของเราออกใบกำกับภาษีได้ ควรออกให้ตรงกับสินค้าที่มีอยู่ ไม่ออกใบกำกับภาษีในสินค้าที่เราไม่มีสต็อคหรือไม่มีขาย ไม่พยายามปรับแต่งหรือปลอมแปลงบัญชี เพื่อยื่นเสียภาษีให้น้อยลง ซึ่งอาจมีโทษได้
สนใจวางแผนการเงินสามารถลงทะเบียนได้ตามลิงค์ด้านล่างเลยครับ
– ถ้าคุณอยากเริ่มวางแผนการเงิน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร?
– อยากเริ่มลงทุน แต่ไม่มีเวลาจัดการเอง
– เสียภาษีเยอะจัง ควรเริ่มจัดการอย่างไร?
– SSF หรือ RMF กองไหนน่าสนใจ?
– ประกันมีให้เลือกหลายแบบ เลือกไม่ถูก?