ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะถูกแบ่งอย่างไร?

/, Hightlight Today, วางแผนการส่งต่อมรดก/ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะถูกแบ่งอย่างไร?

ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะถูกแบ่งอย่างไร?

หลายๆครอบครัวอาจจะไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ทำให้สงสัยว่าถ้าเกิดเหตุการณ์คนเสียชีวิตขึ้นมาจริงๆแล้วทรัพย์สมบัติจะถูกส่งต่อไปถึงบูกหลานด้วยวิธีใดและแบ่งกันอย่างไร วันนี้พี่เสือมี ข้อมูลดีๆที่เป็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆ

โดยก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าโดยในทางกฎหมายแบ่งทายาทออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. ทายาทโดยธรรม คือทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย โดยกฎหมายกำหนดไว้แล้วว่าได้แก่บุคคลดีงต่อไปนี้ อาทิเช่น บุตรของผู้ตาย  บิดามารดาของผู้ตาย  คู่สมรสของผู้ตาย    
  2. ทายาทโดยพินัยกรรม คือเป็นเรื่องของผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้ซึ่งอาจเป็นคนอื่นก็ได้ จะทำยกให้ใครแม้ไม่ใช่ญาติของตนก็ได้  โดยจะเรียกทายาทประเภทนี้กันว่าผู้รับพินัยกรรม

โดยทายาทโดยพินัยกรรมนั้นจะมีสิทธิสูงกว่าทายาทโดยธรรม นั่นหมายถึงว่าถ้าเจ้ามรดกหรือผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้แล้วมรดกถูกแบ่งตามเจตนาดังกล่าว โดยไม่สนใจการแบ่งทรัพย์สินโดยวิธีทายาทโดยธรรม โดยในบทความนี้จะกล่าวถึงกรณีที่เจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมทำให้ทรัพย์มรดกจะตกแก่ทายาทโดยธรรม

โดยทายาทโดยธรรมจะแบ่งได้ 2 ประเภทหลักคือ คู่สมรส (ต้องมีการจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย)  และญาติ (โดยเรียงลำดับตามความใกล้ชิด) ทั้งนี้กฎหมายได้นิยามทางญาติโดยธรรมประเภทญาติไว้ตาม 6 ลำดับดังต่อไปนี้

  1. ผู้สืบสันดาน (ลูก, หลาน, เหลน, โหลน, ลื้อ)
  2. บิดามารดา
  3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  4. พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
  5. ปู่ ย่า ตา ยาย
  6. ลุง ป้า น้า อา

โดยเพื่อความเข้าใจที่ง่าย ขออธิบายในส่วนของทายาทโดยธรรมประเภทญาติก่อน โดยจะใช้หลัก “ญาติสนิทพิชิตญาติห่าง” นั่นหมายถึงว่า ถ้าทายาทลำดับบนๆยังมีชีวิตอยู่นั้น จะทำให้ทายาทลำดับล่างๆไม่มีสิทธิได้รับมรดก แต่ก็มีข้อยกเว้นว่าลำดับที่ 1 และลำดับที่ 2 นั้นจะไม่ตัดกันเอง นั่นคือทายาทลำดับที่ 1 ยังมีชีวิตอยู่ และบิดามารดาของผู้ตายก็ยังมีชีวิตอยู่ (ทายาทลำดับที่2) บิดามารดาของผู้ตายนั้นจะได้รับส่วนแบ่งมรดกเหมือนทายาทชั้นบุตร (มาตรา 1630) คือ ชั้นผู้สืบสันดานในฐานะเท่ากับลูกของผู้ตาย ให้แบ่งมรดกเท่า ๆ กัน เพราะกฎหมายถือว่าเป็นญาติในลำดับที่สนิทที่สุด

เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้วลำดับถัดไปคือเรื่อง ทายาทโดยธรรมประเภทคู่สมรส โดยจะมีการแบ่งที่แตกต่างกับทายาทโดยธรรมประเภทญาติเพราะมีสิทธิได้รับมรดก 2 ส่วนคือ ครึ่งนึงของสินสมรส และสิทธิ์ได้รับมรดกของผู้ตาย (ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นต้องขึ้นอยู่กับว่าทายาทโดยธรรมประเภทญาตินั่นเหลือใครบ้าง)

  1. ถ้ามีทายาทในชั้นผู้สืบสันดาน คู่สมรสมีสิทธิ์ได้ส่วนแบ่งเหมือนเป็นทายาทชั้นบุตร
  2. ถ้ามีทายาทในชั้นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน หรือถ้าไม่มีบุตรแต่บิดามารดาของผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิ์ได้รับมรดกครึ่งหนึ่ง (50%)
  3. ถ้ามีทายาทคือ พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน หรือลุง ป้า น้า อา หรือมีปู่ ย่า ตา ยายแล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิ์ได้มรดก 2 ใน 3 ส่วน (66.7%)
  4. ถ้าผู้ตายไม่มีทายาทเลย คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิ์ได้รับมรดกทั้งหมด (100%)

ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้นเราจะทราบได้ว่าการแบ่งทรัพย์มรดกด้วยวิธีทายาทโดยธรรมนั้นเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวอยู่ไม่น้อย ทางที่ดีผู้ที่มีทรัพย์สินเยอะ ๆ เป็นครอบครัวใหญ่ มีลูกหลาน หรือมีพี่น้องมาก ๆ ควรจัดการทรัพย์สินด้วยพินัยกรรมไว้จะดีกว่า ทั้งในส่วนของความชัดเจนและปราศจากข้อโต้แย้ง

– ถ้าคุณอยากเริ่มวางแผนการเงิน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร?
– อยากเริ่มลงทุน แต่ไม่มีเวลาจัดการเอง
– เสียภาษีเยอะจัง ควรเริ่มจัดการอย่างไร?
– SSF หรือ RMF กองไหนน่าสนใจ?
– ประกันมีให้เลือกหลายแบบ เลือกไม่ถูก?

ปรึกษาฟรี
Facebook Comments
By | 2018-09-17T20:19:28+00:00 September 17th, 2018|Blog, Hightlight Today, วางแผนการส่งต่อมรดก|Comments Off on ถ้าไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกจะถูกแบ่งอย่างไร?

About the Author: